ไทย
ค้นหา
กลับไปหน้าคลังความรู้ทั้งหมด

การประเมินความพร้อมการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีประกาศเรื่อง "การประเมินความพร้อมการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์"

 

โดยธปท. ได้กำหนดกรอบการประมเิน Cyber Resillience Assessment Framework ให้สถาบันการเงินใช้สำหรับประเมินระดับความเสี่ยงตั้งต้นด้านไซเบอร์ (Cyber Inherent Risk Assessment) และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และมาตรการควบคุมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่พึงมี (Maturity Level) ด้วยตนเอง

ซึ่งการประเมินระดับความเสี่ยงตั้งต้นด้านไซเบอร์ (Cyber Inherenet Risk Assessment) จะพิจารณาปัจจับความเสี่ยงพื้นฐานทาง IT 5 ด้าน

- ประเภทขอบเขตและปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ

- ความหลากหลายของช่องทางการให้บริการ Electronics

- รูปแบบ ปริมาณและความซับซ้อนของ Product/Service จำนวนลูกค้าและปริมาณการใช้งาน

- ขนาดและลักษณะเฉพาะขององค์กร

- ประวัติภัยคุกคามทางไซเบอร์

เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้ง 5 ด้านแล้ว ก็จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ต่ำ ปานกลางหรือสูง เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อไป

ส่วนแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และมาตรการควบคุมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่พึงมี (Maturity Level) ก็จะมีการประเมินใน 6 ด้านคือ

- กรอบการดูแล (Governance)

- การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

- การป้องกัน (Protection)

- การเฝ้าระวังและตรวจจับ (Detection)

- การตอบสนองต่อเหตุการณ์และการกู้คืน (Response and Recovery)

- การบริหารความเสี่ยงด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดจากหน่วยงานภายนอก (Third party risk management)

โดยระดับความพร้อมในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ (Maturity) แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Baseline Intermediate  และ Advanced 

ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีนัยสำคัญต่อโครงสร้าง IT โดยต้องส่งผลการประเมินมาที่ธปท. ภายใน 30 วันนับจากวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ประเมินหรือเมื่อธปท. ร้องขอ