ไทย
ค้นหา
กลับไปหน้าคลังความรู้ทั้งหมด

สถานะปัจจุบันของร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุุคคลของไทย

คงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก "ร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุุคคลของไทย" วันนี้เราจะมาอัพเดทสถานะปัจจุบัน และใจความสำคัญเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้กัน

 

ล่าสุดร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้ถูกนำเข้าวาระ "การรับฟังความคิดเห็น" ไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 โดยกลุ่มผู้เข้าแสดงความคิดเห็นมาจากหลากหลายธุรกิจ หรือสถาบัน ความคิดเห็นที่ออกมาโดยสรุปคือ การกำหนดโทษที่อาจจะยังไม่ชัดเจนหรือยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสม ความกังวลในส่วนของการตีความตามกฎหมาย GDPR ซึ่งตัวร่างปัจจุบันได้หยิบยกหลายส่วนของกฎหมายนี้เข้ามารวมในร่างกฎหมายของไทย รวมถึงในการนิยามความหมายของบางคำตามร่าง ซึ่งอาจต้องเพิ่มความชัดเจนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Next Step ของร่างกฎหมายนี้ จะถูกส่งต่อเข้าไปในกระบวนการถัดไปของการร่างกฎหมายนั่นก็คือ การพิจารณาเพื่อรับหลักการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ซึ่งเป็นที่คาดว่าประเด็นต่างๆ ที่หยิบยกขึ้นมาในวาระการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว จะถูกรวบรวมเข้าสู่ขั้นตอนนี้ต่อไป

สำหรับประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับร่างกฎหมายปัจจุบันนี้ ตัวอย่างเช่น

- ปรับคำนิยามของ ข้อมูลส่วนบุคคล ให้รวมเรื่องของ ข้อมูลที่อยู่ทางธุรกิจ เข้ามาด้วย

- การปรับเปลี่ยนโทษปรับ จะอยู่ในช่วง 1,000,000 - 5,000,000 บาท

- เพิ่มประเภทของข้อมูลที่จัดเป็นข้อมูล sensitive หรืออาจเรียกได้ว่า special ตามหลัก GDPR เช่น ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลพันธุกรรม เป็นต้น

- กำหนดขั้นตอนที่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ต้องถูกดำเนินการไม่ว่าจะเป็น การเก็บ การใช้ หรือการนำไปเปิดเผย และต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบโดยชัดเจน นอกจากนั้นจะต้องเก็บข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น!!

- การปรับเปลี่ยนและเพิ่มข้อยกเว้นในกรณีต้องโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ

- เพิ่มเติมส่วนยกเว้นที่ร่างกฎหมายนี้จะไม่ถูกบังคับใช้ เช่น เพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคล การดำเนินการของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ รวมทั้งเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

รวมถึงการเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล สิทธิของเจ้าของข้อมูล ต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น